OpenStack เป็นผู้นำ Private Cloud ไม่ได้ ถ้าขาด AWS

OpenStack กำลังมาแรงเป็นกระแสกับบริการ Private Cloud แต่มันอาจยังไม่เพียงพอสำหรับตลาดการแข่งขันในตอนนี้ อีกทั้งการจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับ AWS อย่างเลี่ยงไม่ได้

Alan Waite นักวิเคราะห์แห่ง Gartner กล่าวว่า OpenStack ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างเยอะ มีเพียงไม่กี่เคสที่มีการใช้งานเหมาะกับ OpenStack ดังนั้น OpenStack ต้องหาวิธีที่จะทำให้ คลาวด์ ของตนทำงานร่วมกับ Public Cloud ได้มากกว่านี้ และ OpenStack ยังต้องพึ่งพา AWS (Amazon Web Service) แต่ติดปัญหาตรงที่ AWS ไม่ได้ต้องการ OpenStack มากเท่า OpenStack ต้องการ AS

Private หรือ Public ดี?

OpenStack ต้องมอง AWS ในฐานะ Partner ให้ความสำคัญกับ AWS API รวมไปถึง Azure API ที่นับเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในตลาด Robert Cathey PR ของ OpenStack ออกมาชี้ปัญหาของเรื่องนี้ว่า AWS ไม่เห็น OpenStack เป็น Partner ที่คู่ควร แม้ว่าทาง OpenStack จะเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมงานกับ AWS ก็ตาม ที่เป็นแบบนี้เนื่องจาก AWS ยืนยันที่จะยึดติดกับ Public Cloud ของตัวเองเป็นหลัก ถึงขั้นบอกว่า Private Cloud ไม่ถือว่าเป็น คลาวด์ เพราะมันทำให้พลาดข้อได้เปรียบทั้งหมดของการทำงานในระบบ Cloud

บางฝ่ายอาจพุ่งเป้าไปยังราคาที่ค่อนข้างสูงของ Private Cloud ตามที่ 451 Research จะพยายามเปิดเผย แต่ที่จริงแล้วราคาของ Private Cloud มีความคลุมเครือไม่ต่างจาก Server-based สักเท่าไหร่ อีกทั้งเรื่องราคาไม่ใช่ประเด็นหลักที่ทำให้ผู้คนย้ายมาใช้งาน Public Cloud ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งานมากกว่า

ความหวังสุดท้ายของ Private Cloud

สำหรับหลายๆ บริษัทแล้ว Hybrid Cloud ก็ไม่ต่างอะไรกับ Private Cloud รูปแบบใหม่ หลังจากที่ Private Cloud เดิมไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ Hybrid Cloud จึงเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการมือรองหวังที่จะใช้แข่งกับ Amazon และ MicroSoft ทั้งยังกลายมาเป็นทางออกของเหล่าบริษัทที่เห็นแล้วว่า Private Cloud ส่วนตัวไม่เวิร์ค จนต้องเริ่มหันไปหา Public Cloud แทน

Alan Waite ยังยืนยันว่า ตอนนี้ OpenStack เป็นความหวังที่ดีที่สุดที่จะให้ Private Workload Control Layer สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบได้ เพราะ OpenStack มี Control plane และ API สำหรับการ Compute ในลักษณะไม่ต่างจากสิ่งที่ Software-defined Networking และ Software-defined Storage ทำสำหรับ Network และ Storage เท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เทียบเท่า AWS และ Public Cloud อยู่ดี จำนวนการใช้งานของ OpenStack ตามจริงมีเพียงแค่หลักร้อย เพราะด้วยข้อจำกัดในการใช้งานและมีไม่กี่เคสที่เหมาะกับ OpenStack

ทว่ายังพอมีหวัง ถ้า OpenStack ผันตัวเองมาเป็น Partner และ Gateway สำหรับการเข้าถึงของ Public Cloud นอกจากนี้ OpenStack ยังต้องการคนกลางที่สามารถจัดระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงของ OpenStack และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ ดังเช่นที่ Red Hat เคยทำมาแล้วกับ Linux ซึ่งแน่นอนว่า Red Hat เองก็อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะเข้ามาจัดการ OpenStack ด้วยเช่นกัน ช่วงนี้ OpenStack เองก็เริ่มจ่ายเงินปันผลให้กับ Red Hat อย่างจริงจังแล้ว CEO Jim Whitehurst จาก Red Hat ยังเผยว่า OpenStack จ่ายมากว่า 100,000 ดอลล่าร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งใน Deal ที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย

หนทางของ OpenStack

แม้ว่า Public Cloud จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังที่ Thomas Bittman นักวิเคราะห์จาก Gartner ได้ออกมาเผยว่า Workload ใหม่ๆ ดูมีแนวโน้มจะพึ่งพา Public Cloud กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าของใหม่ย่อมเติบโตเร็วมากกว่า Workload ของ Data Center แบบเดิมๆ โดยครั้งนี้เร็วกว่าถึง 3 เท่า ทางด้าน Eucalyptus API ที่ทำงานคู่กับ AWS ได้เป็นอย่างดี ดูจะเป็นก้าวที่ชาญฉลาดของ HP แต่สำหรับ OpenStack น่าจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นเพื่อร่วมมือกับ AWS

ส่วนความสำเร็จในการใช้งาน OpenStack ของบริษัทชั้นนำอย่าง Walmart เป็นเพียงข้อยกเว้นอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะทำได้แบบนี้ ซึ่ง OpenStack จำเป็นต้องหาหนทางการทำงานที่เข้ากันได้กับ Amazon และ Microsoft เพื่อผลักดันตัวเองให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องบังหน้าของกลุ่ม CIO ที่ยังไม่คุ้นชินกับ คลาวด์

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า Red Hat อาจจะเป็นตัวช่วยเบอร์หนึ่งของ OpenStack ก่อนหน้านี้ Red Hat สามารถรัน Red Hat Enterprise Linux ในหลายระบบปฏิบัติการได้ โดยร่วมมือด้าน Data Center กับ AWS และทางองค์กรเองก็ขยับขยาย Management Service ให้ง่ายขึ้นสำหรับการจัดการ Workload จากหลากหลาย Deployment Target ซึ่งวิธีการพวกนี้น่าจะเอามาปรับใช้กับ OpenStack ด้วยเช่นกัน เป็นการเพิ่มฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ OpenStack แม้ว่าภาระจะตกไปอยู่ที่ Red Hat มากกว่า AWS ก็ตาม

Paul Cormier ประธานของ Red Hat แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการบริการ PaaS จากผู้ให้บริการรายอื่นไว้ว่า เมื่อเราสร้าง Application ลงบน PaaS ของคนอื่น ไม่ว่าเป็น Google หรือใครตามก็ตาม มันจะคงอยู่ใน Network นั้นๆ ไม่สามารถเอาออกมาได้ ตัว Application จะรันบน Network ของผู้ให้บริการเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ แต่ Red Hat สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการสร้าง Platform สำหรับ Different Deployment Target นับเป็นโชคดีของ OpenStack ที่ Red Hat ออกปากแล้วว่าอยากให้ OpenStack ทำงานร่วมกับ AWS ได้ ที่เหลือก็ต้องรอดูกันต่อไปแล้วล่ะ ว่าจะสามารถทำความต้องการนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่

 

10 ข้อดีของ Cloud

แต่ก่อน เมื่อเราต้องการใช้ Application ต่างๆจาก Software เราก็จะไปหาโหลดตามอินเตอร์เน็ตติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แต่เมื่อเกิด Cloud ขึ้นมา ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการที่เราสามารถใช้งาน Application หรือ Program ต่างๆได้ผ่านทาง Internet

ทุกวันนี้เราใช้ Cloud โดยไม่รู้ตัวแน่ๆ ทั้งการอัพเดทสเตตัสบท Facebook และการใช้ธนาคารออนไลน์      แอพโอนเงินต่างๆ Cloud Computing สามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดาย

Cloud Computing กำลังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างรวดเร็ว จากการคาดการณ์ในภาพรวม ราวๆ 90% ของธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาอยู่บนระบบ Cloud Computing อย่างแน่นอน เรามารู้จัก 10 ข้อดีของการเปรียบมาใช้ Cloud

  1. ยืดหยุ่น : พวกระบบบริการที่เป็น Cloud-based Service ทั้งหลาย น่าจะเรียกได้ว่าเป็นระบบในอุดมคติสำหรับธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของ Bandwidth อยู่ตลอด
  2. ไม่หวั่นต่อภัยธรรมชาติ : ธุรกิจหน้าใหม่ที่อาจจะขาดทั้งเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญ ระบบ Cloud คือ ตัวช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ถ้าสำรองข้อมูลไว้บน Cloud ต่อให้เกิดภัยพิบัติใดๆ กับบริษัท ก็ไม่ต้องห่วงว่าข้อมูลจะเสียหาย แถมต้นทุนยังไม่แพงอีกด้วย
  3. อัพเดทซอฟต์แวร์อัตโนมัติ : สุดยอดข้อดีของระบบ Cloud ก็คือ Server ของมันเป็นแบบ Off-premise ไม่ได้มาติดตั้งกินพื้นที่อยู่ในบริษัทของเรา การดูแลทั้งหมด ไม่ว่าจะด้านความปลอดภัย บำรุงรักษา หรืออัพเดทซอฟต์แวร์ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่คอยจัดการให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งาน Cloud สามารถเอาเวลาอัพเดทระบบ ไปสร้างสรรค์ธุรกิจของตนได้เต็มที่
  4. ไม่เสียค่าอุปกรณ์ : ลืมค่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ราคาแพงไปได้เลย เพราะเราไม่ได้มีเครื่อง Server ติดตั้งอยู่กับตัวบริษัท ผู้ใช้บริการระบบ Cloud เพียงแค่จ่ายค่าบริการในส่วนที่ต้องการใช้เท่านั้น
  5. ประสานงานได้ดีขึ้น : ให้ลองนึกภาพ Google Drive เมื่อมีการสร้างหรือแชร์งานกันผ่านระบบ Cloud ทีมงานทุกคนจะสามารถทำงานพร้อมกันได้ทันที และยังอัพเดทแบบ real-time อีกด้วย
  6. อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ : สามารถทำงานจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่มี Internet กับอุปกรณ์สำหรับเข้าถึงก็เพียงพอ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ส่งผลดีต่องานของเราได้ด้วยการทำงานในสภาพแวดล้อมตามชอบใจ
  7. จัดการเอกสารได้ง่าย Cloud จะช่วยจัดการเอกสารให้ง่ายขึ้นเพราะเอกสารจะถูกเก็บในส่วนกลาง มีการอัพเดทอยู่ตลอดทุกคนสามารถเปิดอ่านเอกสารฉบับล่าสุดที่เพิ่งแก้ไขได้ในทันที
  8. ปลอดภัย : ก่อนหน้าที่จะมีระบบ Cloud การโดนขโมยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือทำมันหาย ไม่ใช่แค่เสียเครื่องไปอย่างเดียว แต่ยังสูญข้อมูลข้างในซึ่งอาจเต็มไปด้วยความลับของบริษัทอีกด้วย ระบบ Cloud ช่วยให้ปัญหานี้เบาบางลง เพราะเก็บไฟล์งานไว้แบบออนไลน์ 100% หมดห่วงข้อมูลรั่วไหล
  9. เพิ่มอำนาจการแข่งขัน : บางบริษัทเล็กๆ อาจถึงกับต้องถอดใจเมื่อคิดจะลงสนามแข่งกับพวกธุรกิจรายใหญ่ เพราะติดปัญหาความพร้อมทางเทคโนโลยี แต่พอมีระบบ Cloud ก็วางใจได้เลย เพราะ Cloud จะทำให้บริษัทเล็กๆ สามารถใช้เทคโนโลยีและ Application ทันสมัย เพิ่มอำนาจในการแข็งขันได้อย่างเต็มที่ โดยเลือกจ่ายเฉพาะในสิ่งที่ต้องการใช้
  10. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : Cloud ยังช่วยลดปริมาณการใช้งานกระดาษ ด้วยการแชร์ข้อมูลออนไลน์แทนที่การปรินท์อีกด้วย

Private Cloud คือการลงทุนที่คุ้มค่าต่อธุรกิจในปัจจุบัน

เพราะในปัจจุบันนั้นโครงสร้างธุรกิจมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุกๆกิจการต้องการความรวดเร็วและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อจะเป็นที่ 1 ในด้านธุรกิจ ซึ่งปัจจัยหลักของการเอาชนะคู่แข่งได้ Private Cloud ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามหรือนักธุรกิจควรศึกษาไว้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักก่อนกับ  Private Cloud คือระบบ Cloud จัดขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงได้ โดยจะลูกเล่นเหมือนกับ Public Cloud แต่จะต่างกันตรงที่ Private Cloud หนึ่งอันจะถูกใช้โดยหนึ่งองค์กรเท่านั้น โดยมีการบริหารจัดการ Resource ให้กับหน่วยงานภายในกันเอง ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเข้าไปใช้ Resource เหล่านั้นได้โดยตรง

ข้อดีของ Private Cloud ที่มีต่อธุรกิจ

– มีความปลอดภัยสูงเพราะข้อความทุกอย่างจะเป็นความลับถายในอังค์กรเท่านั้น

– สามารถควบคุมได้ง่าย

– คุมค่าใช่จ่ายให้อยู่ในขอบเขต

– ยกระดับด้านศักยภาพของบุคลากรและระบบ IT ภายในองค์ให้มีประสิทธิภาพ

– มีความรวดเร็วในการใช้งาน ทั้งด้านโปรแกรม และอินเตอเน็ต

– ไม่เปลือง Internet Bandwidth หากการใช้งานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบุคคลภายในองค์กรเอง

– ประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับองค์กรที่มีข้อมูลสำคัญอยู่มาก

– สามารถดึงทรัพยากรออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ Private Cloud ให้เราสามารถปรับแต่งการทำงานได้อย่างอิสระ

 

ข้อเสียของ Private Cloud ที่มีต่อธุรกิจ

– ต้องดูแล Private Cloud อยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

– ผู้ดูแลระบบ Private Cloud ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความรับผิดชอบสูง

– มีค่าใช้จ่ายในการลุงทุนด้านHardware และ Software สูง