ทำไม Cloud ถึงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Cloud ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะในปัจจุบันมีคนเริ่มรู้จัก และเข้าใจเรื่องเกี่ยว Cloud Computing กันมากขึ้นแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้ Cloud เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้น ทำให้ Cloud Computing มีแนวโน้มพัฒนา และเติบโตเรื่อยๆ โดยสาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักของการทำให้ Cloud เติบโตอย่างทุกวันนี้และมีแนวโน้มจะเติบโตเรื่อยๆ ก็คือ ความเร็ว และระบบของ Internet นั่นเอง

โดยที่ความเร็ว และระบบของ Internet ถูกปรับให้มีความเร็วเพิ่มสูงขึ้น ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อก่อนเราต้องมี Server เป็นของตัวเอง เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราก็สามารถปรับปรุงข้อมูลจากเครื่อข่ายต่างๆ ได้เอง แต่เดี๋ยวนี้ระบบ Internet ก็ได้พัฒนามาไกลมากแล้วจริงๆ จากเมื่อก่อนใช้สายลากต่อตามบ้าน หรือตามบริษัท องค์กร ปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบ Internet ไร้สายที่เราเล่นผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนี้เพิ่มขึ้นมาอีก นั่นทำให้เราสามารถเข้าถึง และจัดการข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนโลกนี้ได้อย่างสบายๆ เมื่อมองกลับมายังปัจจุบันระบบ Cloud  นั้นมันจะสามารถเข้ามาช่วยให้การทำงาน และการเข้าถึงข้อมูลของเราได้เร็วขึ้นแน่นอน เพราะข้อจำกัดต่างๆ ลดลง และการเชื่อมโยงโครงข่าย Internet เข้าถึงกันหมดแล้วนั่นเอง

หากใครมีความสนใจ อยากรู้เรื่อง Cloud Computing แบบละเอียดมากขึ้นทาง Nipa Cloud ได้มีการจัดอบรม Cloud ในหลักสูตร Cloud Computing Fundamentals อยู่นะคะ โดยการอบรม Cloud ครั้งนี้ เรามุ่งเน้นในการพัฒนามุมมองทางธุรกิจ และมีการให้ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของ Cloud Computing และ OpenStack ด้วยนั่นเอง โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://training.nipa.cloud/cc101-2/ เลยนะคะ

รู้จัก OpenStack แบบง่ายๆ

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ OpenStack โดดเด่นกว่าคู่แข่งรายอื่น เท่าที่รู้ๆกันอยู่ว่า OpenStack กำลังได้รับการตอบรับมากขึ้น ในฐานะ Open Source สำหรับ Private Cloud ซึ่งเราจะพาไปทำความรู้จักกับ Ecosystem ของ OpenStack

OpenStack กับ Amazon EC2 อาจดูคล้ายกัน เพราะผู้ใช้สามารถ Provision VM จาก Dashboard หรือ API ได้เหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างหลักๆ นอกจาก OpenStack เป็นของฟรี ก็คือ Amazon EC2 เป็นบริการ Public Cloud เท่านั้น ส่วน OpenStack ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็น Private Cloud ของ OpenStack หรือจะสมัคร Public Cloud จากตัวแทนผู้ให้บริการของ OpenStack ก็ได้

ต้องเข้าใจก่อนว่า OpenStack ไม่ใช่ Hypervisor แต่ถูกสร้างเพื่อทำงานร่วมกับ Hypervisor ที่แตกต่างกัน โดย User สามารถเลือกได้ว่าจะ Deploy Hypervisor บนตัวเครื่อง (machine) หรือบน OS ที่ Built-in มากับ Hypervisor เช่น Linux KVM เป็นต้น นอกจากนี้ OpenStack ยังทำให้ User สามารถนำ VM ไปติดตั้งบน Bare-Metal Server (เซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว) ได้อีกด้วย

 

Component หลักของ OpenStack 

 

  • Horizon (Dashboard) : เป็น User Interface (UI) แบบ Web-based
  • Nova (Compute) : ประกอบด้วย Controller และ Compute Nodes ที่ดึง VM image มาจาก OpenStack image service และสร้าง VM บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการ โดยมี APIs ที่แตกต่างกันตาม Platforms เช่น XenAPI, VMwareAPI, libvirt for Linux KVM (QEMU), Amazon EC2, และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น
  • Neutron (Networking) : สำหรับสร้าง Virtual Network, Network Interface และทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Networking Products จากตัวแทนผู้ให้บริการอื่นๆ
  • Swift (Object storage) : หลักการทำงานเหมือน Amazon S3 โดยจะบันทึกข้อมูลแบบเดี่ยวอย่าง image เก็บไว้โดยใช้ระบบ REST Web service
  • Cinder (Block storage) : คล้ายกับ Swift โดยจะเก็บ disk file ต่างๆ เช่น Log และเปิดให้เพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปได้ ในขณะที่ Swift จะให้เก็บแทนที่ของเดิมเท่านั้น
  • Keystone (indentity storage) : เป็นคำสั่งที่เปิดให้ User และ Process สามารถเข้าถึง Tools ต่างๆ ของ OpenStack ได้โดยสร้าง Autentication Token ขึ้นมา
  • Glance (Image service) : เป็นตัวหลักของ OpenStack ในฐานะ Cloud Operating System คือ การสร้าง VM image ขึ้นมา โดย Glance คือแคตตาล็อครวม VM ที่อัพโหลดเอาไว้และเปิดให้ใช้ภายในองค์กร
  • Trove (database server) : เป็นตัวสนับสนุนการทำงานของ Database ที่ต่างกัน

นอกจากนี้ Component ของ OpenStack ยังใช้ MySQL Database ที่หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับ Python รวมทั้งใช้ Command line interface ของ Python ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

– คำสั่งดาวน์โหลด Keystone จากเซิร์ฟเวอร์ Linux ที่เก็บข้อมูลแบบ Public :

apt-get install keystone python-keystoneclient

– คำสั่งสร้าง User บน Keystone

keystone user-create –name Sam –description “Sam” :

– คำสั่งลิสต์ชื่อ VM images ด้วย Nova

nova image-list :

– คำสั่งเปิด Python Shell ก็ทำได้ง่ายๆ แค่พิมพ์ Python แล้วตามด้วย :

from keystoneclient.v2_0 import client

ถ้าไม่ถนัด Python CLI (Command Line Interface) จะสลับไปใช้ Dashboard แบบคลิกก็ได้เหมือนกัน

 

OpenStack ในฐานะแพลตฟอร์มแบบ Open source

Nasa และ Rackspace เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนา OpenStack ก่อนจะเปิดเป็น Open Source ให้โปรแกรมเมอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ตามต้องการ โดยตรวจสอบ Source code ได้ทาง Github ทั้งนี้พวกโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบ OpenStack เองก็ทำงานให้กับองค์กรใหญ่ที่นำ OpenStack ไปใช้ด้วยเหมือนกัน เช่น Rackspace และ Paypal เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโปรเจคเกี่ยวกับ OpenStack อีกหลายโครงการ ส่วนมากจะเป็นโปรเจคเฉพาะด้าน เช่น การติดตั้งแบบ bare-metal ผู้ที่สนใจหรืออยากจะทดลองใช้งาน ทาง OpenStack ก็มี Development Version ให้ลองเล่นกันได้โดยนำไปติดตั้งบน Ubuntu Linux หรือจะใช้ OpenStack Autopilot wizard ในการสั่ง Deploy ก็ได้ ส่วน Source code ไม่จำเป็น เพราะ OpenStack สามารถหาได้จาก Python package โดยใช้ Tools ชื่อ apt-get ในการติดตั้ง

OpenStack เป็นผู้นำ Private Cloud ไม่ได้ ถ้าขาด AWS

OpenStack กำลังมาแรงเป็นกระแสกับบริการ Private Cloud แต่มันอาจยังไม่เพียงพอสำหรับตลาดการแข่งขันในตอนนี้ อีกทั้งการจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับ AWS อย่างเลี่ยงไม่ได้

Alan Waite นักวิเคราะห์แห่ง Gartner กล่าวว่า OpenStack ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างเยอะ มีเพียงไม่กี่เคสที่มีการใช้งานเหมาะกับ OpenStack ดังนั้น OpenStack ต้องหาวิธีที่จะทำให้ คลาวด์ ของตนทำงานร่วมกับ Public Cloud ได้มากกว่านี้ และ OpenStack ยังต้องพึ่งพา AWS (Amazon Web Service) แต่ติดปัญหาตรงที่ AWS ไม่ได้ต้องการ OpenStack มากเท่า OpenStack ต้องการ AS

Private หรือ Public ดี?

OpenStack ต้องมอง AWS ในฐานะ Partner ให้ความสำคัญกับ AWS API รวมไปถึง Azure API ที่นับเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในตลาด Robert Cathey PR ของ OpenStack ออกมาชี้ปัญหาของเรื่องนี้ว่า AWS ไม่เห็น OpenStack เป็น Partner ที่คู่ควร แม้ว่าทาง OpenStack จะเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมงานกับ AWS ก็ตาม ที่เป็นแบบนี้เนื่องจาก AWS ยืนยันที่จะยึดติดกับ Public Cloud ของตัวเองเป็นหลัก ถึงขั้นบอกว่า Private Cloud ไม่ถือว่าเป็น คลาวด์ เพราะมันทำให้พลาดข้อได้เปรียบทั้งหมดของการทำงานในระบบ Cloud

บางฝ่ายอาจพุ่งเป้าไปยังราคาที่ค่อนข้างสูงของ Private Cloud ตามที่ 451 Research จะพยายามเปิดเผย แต่ที่จริงแล้วราคาของ Private Cloud มีความคลุมเครือไม่ต่างจาก Server-based สักเท่าไหร่ อีกทั้งเรื่องราคาไม่ใช่ประเด็นหลักที่ทำให้ผู้คนย้ายมาใช้งาน Public Cloud ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งานมากกว่า

ความหวังสุดท้ายของ Private Cloud

สำหรับหลายๆ บริษัทแล้ว Hybrid Cloud ก็ไม่ต่างอะไรกับ Private Cloud รูปแบบใหม่ หลังจากที่ Private Cloud เดิมไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ Hybrid Cloud จึงเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการมือรองหวังที่จะใช้แข่งกับ Amazon และ MicroSoft ทั้งยังกลายมาเป็นทางออกของเหล่าบริษัทที่เห็นแล้วว่า Private Cloud ส่วนตัวไม่เวิร์ค จนต้องเริ่มหันไปหา Public Cloud แทน

Alan Waite ยังยืนยันว่า ตอนนี้ OpenStack เป็นความหวังที่ดีที่สุดที่จะให้ Private Workload Control Layer สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบได้ เพราะ OpenStack มี Control plane และ API สำหรับการ Compute ในลักษณะไม่ต่างจากสิ่งที่ Software-defined Networking และ Software-defined Storage ทำสำหรับ Network และ Storage เท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เทียบเท่า AWS และ Public Cloud อยู่ดี จำนวนการใช้งานของ OpenStack ตามจริงมีเพียงแค่หลักร้อย เพราะด้วยข้อจำกัดในการใช้งานและมีไม่กี่เคสที่เหมาะกับ OpenStack

ทว่ายังพอมีหวัง ถ้า OpenStack ผันตัวเองมาเป็น Partner และ Gateway สำหรับการเข้าถึงของ Public Cloud นอกจากนี้ OpenStack ยังต้องการคนกลางที่สามารถจัดระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงของ OpenStack และสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ ดังเช่นที่ Red Hat เคยทำมาแล้วกับ Linux ซึ่งแน่นอนว่า Red Hat เองก็อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะเข้ามาจัดการ OpenStack ด้วยเช่นกัน ช่วงนี้ OpenStack เองก็เริ่มจ่ายเงินปันผลให้กับ Red Hat อย่างจริงจังแล้ว CEO Jim Whitehurst จาก Red Hat ยังเผยว่า OpenStack จ่ายมากว่า 100,000 ดอลล่าร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งใน Deal ที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย

หนทางของ OpenStack

แม้ว่า Public Cloud จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังที่ Thomas Bittman นักวิเคราะห์จาก Gartner ได้ออกมาเผยว่า Workload ใหม่ๆ ดูมีแนวโน้มจะพึ่งพา Public Cloud กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าของใหม่ย่อมเติบโตเร็วมากกว่า Workload ของ Data Center แบบเดิมๆ โดยครั้งนี้เร็วกว่าถึง 3 เท่า ทางด้าน Eucalyptus API ที่ทำงานคู่กับ AWS ได้เป็นอย่างดี ดูจะเป็นก้าวที่ชาญฉลาดของ HP แต่สำหรับ OpenStack น่าจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นเพื่อร่วมมือกับ AWS

ส่วนความสำเร็จในการใช้งาน OpenStack ของบริษัทชั้นนำอย่าง Walmart เป็นเพียงข้อยกเว้นอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะทำได้แบบนี้ ซึ่ง OpenStack จำเป็นต้องหาหนทางการทำงานที่เข้ากันได้กับ Amazon และ Microsoft เพื่อผลักดันตัวเองให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องบังหน้าของกลุ่ม CIO ที่ยังไม่คุ้นชินกับ คลาวด์

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า Red Hat อาจจะเป็นตัวช่วยเบอร์หนึ่งของ OpenStack ก่อนหน้านี้ Red Hat สามารถรัน Red Hat Enterprise Linux ในหลายระบบปฏิบัติการได้ โดยร่วมมือด้าน Data Center กับ AWS และทางองค์กรเองก็ขยับขยาย Management Service ให้ง่ายขึ้นสำหรับการจัดการ Workload จากหลากหลาย Deployment Target ซึ่งวิธีการพวกนี้น่าจะเอามาปรับใช้กับ OpenStack ด้วยเช่นกัน เป็นการเพิ่มฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ OpenStack แม้ว่าภาระจะตกไปอยู่ที่ Red Hat มากกว่า AWS ก็ตาม

Paul Cormier ประธานของ Red Hat แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการบริการ PaaS จากผู้ให้บริการรายอื่นไว้ว่า เมื่อเราสร้าง Application ลงบน PaaS ของคนอื่น ไม่ว่าเป็น Google หรือใครตามก็ตาม มันจะคงอยู่ใน Network นั้นๆ ไม่สามารถเอาออกมาได้ ตัว Application จะรันบน Network ของผู้ให้บริการเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ แต่ Red Hat สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการสร้าง Platform สำหรับ Different Deployment Target นับเป็นโชคดีของ OpenStack ที่ Red Hat ออกปากแล้วว่าอยากให้ OpenStack ทำงานร่วมกับ AWS ได้ ที่เหลือก็ต้องรอดูกันต่อไปแล้วล่ะ ว่าจะสามารถทำความต้องการนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่

 

เรียน OpenStack ประตูสู่ธุรกิจที่ก้าวไกล

เมื่อเราคิดที่จะทำธุรกิจขึ้น สักหนึ่งธุรกิจ คำถามแรกที่ทุกคนต้องคิดก็คือ ทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากทำธุรกิจแล้วเจ๊งหรอก แต่ก็อย่างที่รู้ๆว่ามันมีหลายปัจจัยแน่นอนที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ เริ่มจากภายในองค์ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยในการช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ทำไมนะหรอ คำตอบง่ายๆ ถ้าเราลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลงกว่าคู่แข่งขันได้ เราก็ยิ่งก้าวเร็วกว่าคู่แข็งไปแล้ว 1 ก้าว คำถามต่อมาแล้วทำอย่างไรที่จะลดขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรให้น้อยลงละ แล้วถ้าขอถามกลับว่า คุณรู้จัก OpenStack ไหม

เจ้า OpenStack นี้แหละที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรให้เป็นระเบียบและใช้งานง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับ OpenStack ล่ะ?

หลายองค์กรมีการเปิดสอน OpenStack กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการต่างๆ ได้มาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือ เรียน OpenStack ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ และนำ OpenStack มาใช้งานได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เรามีเหตุผลดีๆ ที่ควรเรียน OpenStack มาฝากกัน มาดูกันเลยว่ามีข้อดีอย่างไรบ้าง

  1. OpenStack ไม่ใช่เรื่องยาก

OpenStack เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงง่ายต่อการเรียน OpenStack ทั้งยังมีเหล่า Community ขนาดใหญ่ที่คอยให้ความสนับสนุน ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานของคุณเป็นเรื่องง่าย

  1. ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า OpenStack จะเข้ามามีบทบาทกับองค์กรธุรกิจ ดังนั้นการเรียนไว้ก่อน เป็นเรืองที่ดี

จากการสำรวจ Open Source ประจำปีครั้งที่ 9 พบว่า 78% ขององค์กรธุรกิจกำลังใช้ OpenStack ในการดำเนินงานทั้งหมด หรือบางส่วนขององค์กร ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มไปในทางที่ดี เพราะองค์กรทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็หันมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการรู้ไว้ก่อนย่อมไม่เสียหาย

  1. มาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน Open Source ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่

OpenStack ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุน ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอแน่นอน

  1. มีตัวเลือกให้เลือกมากมาย

ในเบื้องต้นแนะนำให้เรียน OpenStack ในส่วนของ OpenStack Foundation Marketplace จากนั้นก็เลือกจากใช้งานที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด โดย 55% ของการใช้งาน OpenStack จะใช้การผลิตจาก Ubuntu OpenStack ซึ่งเชื่อถือได้ ทั้งยังสามารถอัปเกรดได้อีกด้วย

  1. เรียน OpenStack เพื่อรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

วิศวกรของระบบคลาวด์จะทำงานได้ดีกว่าวิศวกรอื่นๆ แต่วิศวกร OpenStack ก็ทำงานได้ดีกว่าวิศวกรคลาวด์เช่นกัน ดังนั้นการใช้ OpenStack ย่อมสร้างประสิทธิภาพที่ดีกว่าให้กับองค์กรของคุณแน่นอน

การเรียน OpenStack เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ เพราะจะทำให้เราได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทั้งยังลดความกังวลกับการจัดการระบบข้อมูล และทำให้โฟกัสกับงานหลักได้ดียิ่งขึ้น

หลักสูตรการเรียนการสอน OpenStack ฉบับ Mirantis ที่คนอยากเป็น OpenStacker ห้ามพลาด

เมื่อไหร่ที่โลกยังคงหมุน เทคโนโลยีก็ยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ความคิดแบบเก่าๆ จะถูกแทนที่ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ และนี้คืิอเหตุผลที่ว่าทำไมคนเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับการติดตามข้อมูลข่าวสาร ศึกษาการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ และรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว  การเข้ามาของ Cloud Computing (การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) ได้กลายเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับใครหลายคน แต่ในปัจจุบัน เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า Cloud Computing มีบทบาททำให้รูปแบบของอุตสาหกรรมไอทีเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สถิติจำนวนผู้สนใจและจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ วงการ เนื่องจาก Cloud Computing เป็นระบบปฎิบัติการเหนือเมฆที่สามารถประมวลผลและจัดสรรทรัพยากรที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

เพราะความสะดวกสบายเช่นนั้น ส่งผลให้ความต้องการที่จะใช้ระบบ Cloud มีมากขึ้น แต่ติดอยู่ตรงที่ซอฟแวร์สำหรับบริหารจัดการระบบ Cloud Computing ในองค์กรที่มีมาแต่เดิมส่วนใหญ่จะเป็นซอฟแวร์แบบ Proprietary ซึ่งมีราคาแพง ดังนั้นเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ Cloud Computing แบบ Open Source ขึ้นมาภายใต้ชื่อ OpenStack

ซอฟแวร์ระบบ OpenStack คือ Open Source ที่ทำหน้าที่ช่วยในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรด้าน Compute , Storage , Networking ของ Data Center ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งคุณสมบัติเด่นของ OpenStack มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Compute Network หรือ Storage เกิดขึ้นเมื่อ โดยในปัจจุบัน OpenStack ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากกว่า 250 องค์กรใน 130 ประเทศทั่วโลก เรียกได้ว่า OpenStack คือ อีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ขององค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการจัดการ Cloud Computing ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้นการเรียนการสอน OpenStack จึงน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีความสนใจที่จะใช้งาน Cloud Computing ในองค์กรและผู้ที่ต้องการจะให้บริการ Cloud Computing เป็นอย่างยิ่ง

โดยหลักสูตรการอบรมการสอน OpenStack ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ หลักสูตร Mirantis (training.mirantis.com) จากองค์กร Mirantis ผู้ให้บริการ OpenStack และผู้ให้คำปรึกษาในด้านนี้

OpenStack & Kubernetes training from the experts. Mirantis Training helps IT professionals around the globe advance their skills in OpenStack, Kubernetes, Software-Defined Networking (SDN), and other cloud technologies. In addition to teaching a pure vendor-agnostic curriculum, Mirantis Training offers a variety of course levels and formats to fit any education needs. Paired with our industry-recognized certifications, you will be equipped with the knowledge, flexibility, and adaptability to manage cloud technology environment.” – (Mirantis,n.d.)

ซึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน OpenStack ของ Mirantis นั้นส่วนใหญ่จะเรียนกันแบบเน้น Workshop ปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและเข้าใจระบบอย่างลึกซึ้ง โดยคอร์สก็จะมีหลากหลายออกไปตามความสนใจผู้เรียน ดังนี้

  • คอร์ส OS100: OpenStack Bootcamp เป็นหลักสูตรยอดนิยม ในหลักสูตรนี้จะเจาะลึกในเรื่องการออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง บำรุงรักษา และแก้ไขปัญหา Cloud OpenStack ระดับ Professional ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปต่อยอดกับองค์กรหรือใช้ในการทำงานได้ทันที

สำหรับตอนนี้หากใครสนใจหลักสูตรการเรียนการสอน OpenStack ฉบับหลักสูตร Mirantis แท้ๆ NIPA.CLOUD ได้จับมือกับ Mirantis (training.mirantis.com) จัดอบรมความรู้เรื่องระบบ Cloud Computing ในไทยและประเทศอาเซียน มีหลักสูตรการสอน OpenStack ที่ครอบคลุมสำหรับนักพัฒนาซอฟแวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยเฉพาะด้าน Cloud OpenStack ผู้ดูแลระบบ และผู้จัดการระบบพร้อม รับประกันเนื้อหาใช้หลักสูตรการสอนทั้งหมดจาก Mirantis ทั้งหมดที่ได้รับการพัฒนาจากวิศวกรมากกว่า 200 ท่าน

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ training.nipa.cloud