Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

Cloud Computing

Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)

 

เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และประหยัดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง

 

ประเภทของ Cloud Computing

 

  1. Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ Software ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง

 

  1. Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ

 

  1. Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งดึงข้อดีของทั้งสองระบบออกมาใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบนระบบ Cloud Computing ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น ใช้งาน Private Cloud ในการรัน Software และเก็บข้อมูลภายในองค์กร แต่ใช้ Public Cloud ในการรัน เว็บไซต์ รวมถึงรองรับการทำงานช่วงที่มี Workload จำนวนมาก

 

รูปแบบการใช้งาน Cloud Computing

 

  1. SaaS (Software-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Software โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้ Software ตัวนั้นได้ผ่าน Internet ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

 

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรของคลาวด์ในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแบบเสมือน (Virtualization) ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อหรือติดตั้ง Hardware จำนวนมากเป็นของตัวเอง

 

  1. PaaS (Platform-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Platform โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Hardware และ Software ได้อย่างอิสระ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

 

  1. DRaaS (Disaster Recovery-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง หรือ เหตุขัดข้องที่ทำให้ Data Center ไม่สามารถทำงานได้ ระบบก็จะมีการโอนย้ายการทำงานไปยังระบบการทำงานสำรองแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

 

เหตุผลที่องค์กรควรติดตั้ง DR หรือ Site สำรอง เนื่องจากมีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องมี Site สำรอง รวมถึงมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลขององค์กรและผู้ใช้งาน แต่การลงทุนทำ Site สำรองหรือ DRaaS นั้น มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้งานคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่มีราคาถูกกว่าได้ รวมถึงสามารถใช้งานบริการอื่นๆ จากคลาวด์ได้ เช่น Data Base-as-a-Service (DBaaS), Mobile Back-End-as-a-Service (MBaaS), Functions-as-a-Service (FaaS)

 

ความปลอดภัยของการใช้งาน Cloud Computing

 

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าข้อดีของการใช้งาน Cloud Computing คือสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ค่าใช้จ่ายน้อย แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้คนมักตั้งคำถามเป็นเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล

 

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Computing นั้นมีความรวดเร็ว สะดวก ซึ่งก็มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แม้กระทั่งในตัวของ Public Cloud ที่เป็นคลาวด์สาธารณะ แต่ก็มีระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเช่น Keypair, VPC หรือระบบการตั้งค่า Network นอกจากนี้หากผู้ใช้งานเป็นระดับองค์กรก็สามารถใช้งาน Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง หากต้องการใช้งานที่คล่องตัวที่สุดก็คือ Hybrid Cloud ที่รวมเอาข้อดีของการใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud รวมกัน

 

ใช้งาน Cloud Computing คุ้มกว่าอย่างไร

 

1.Cost Savings

ควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use จ่ายตามการใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้ง Hardware และดูแลระบบ รวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ในการดูแลอีกด้วย

 

2.Security

มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีการยกระดับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีเจ้าหน้าที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง, มี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

 

3.Flexibility

สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น 

 

4.Mobility

เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

 

5.Reduce Complexity

ลดความซับซ้อนของระบบ IT การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร เช่น ระบบไฟฟ้า, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การบำรุงรักษา เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software บนคลาวด์ได้ทันที

 

6.Automatic Software Updates

การทำงานบนคลาวด์จะมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ Software ตลอดเวลา

 

7.Sustainability

ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบนคลาวด์ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem 

 

สำหรับบริการ Cloud Computing รูปแบบต่างๆ Nipa.Cloud เราสามารถให้บริการได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้ง่ายและได้รับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยซอฟต์แวร์ NCP ที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go พร้อม Data Center ของเราเองที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013, ISO/IEC 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI

รู้จัก OpenStack แบบง่ายๆ

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ OpenStack โดดเด่นกว่าคู่แข่งรายอื่น เท่าที่รู้ๆกันอยู่ว่า OpenStack กำลังได้รับการตอบรับมากขึ้น ในฐานะ Open Source สำหรับ Private Cloud ซึ่งเราจะพาไปทำความรู้จักกับ Ecosystem ของ OpenStack

OpenStack กับ Amazon EC2 อาจดูคล้ายกัน เพราะผู้ใช้สามารถ Provision VM จาก Dashboard หรือ API ได้เหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างหลักๆ นอกจาก OpenStack เป็นของฟรี ก็คือ Amazon EC2 เป็นบริการ Public Cloud เท่านั้น ส่วน OpenStack ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็น Private Cloud ของ OpenStack หรือจะสมัคร Public Cloud จากตัวแทนผู้ให้บริการของ OpenStack ก็ได้

ต้องเข้าใจก่อนว่า OpenStack ไม่ใช่ Hypervisor แต่ถูกสร้างเพื่อทำงานร่วมกับ Hypervisor ที่แตกต่างกัน โดย User สามารถเลือกได้ว่าจะ Deploy Hypervisor บนตัวเครื่อง (machine) หรือบน OS ที่ Built-in มากับ Hypervisor เช่น Linux KVM เป็นต้น นอกจากนี้ OpenStack ยังทำให้ User สามารถนำ VM ไปติดตั้งบน Bare-Metal Server (เซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว) ได้อีกด้วย

 

Component หลักของ OpenStack 

 

  • Horizon (Dashboard) : เป็น User Interface (UI) แบบ Web-based
  • Nova (Compute) : ประกอบด้วย Controller และ Compute Nodes ที่ดึง VM image มาจาก OpenStack image service และสร้าง VM บนเซิร์ฟเวอร์ที่เราต้องการ โดยมี APIs ที่แตกต่างกันตาม Platforms เช่น XenAPI, VMwareAPI, libvirt for Linux KVM (QEMU), Amazon EC2, และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น
  • Neutron (Networking) : สำหรับสร้าง Virtual Network, Network Interface และทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Networking Products จากตัวแทนผู้ให้บริการอื่นๆ
  • Swift (Object storage) : หลักการทำงานเหมือน Amazon S3 โดยจะบันทึกข้อมูลแบบเดี่ยวอย่าง image เก็บไว้โดยใช้ระบบ REST Web service
  • Cinder (Block storage) : คล้ายกับ Swift โดยจะเก็บ disk file ต่างๆ เช่น Log และเปิดให้เพิ่มเติมข้อมูลเข้าไปได้ ในขณะที่ Swift จะให้เก็บแทนที่ของเดิมเท่านั้น
  • Keystone (indentity storage) : เป็นคำสั่งที่เปิดให้ User และ Process สามารถเข้าถึง Tools ต่างๆ ของ OpenStack ได้โดยสร้าง Autentication Token ขึ้นมา
  • Glance (Image service) : เป็นตัวหลักของ OpenStack ในฐานะ Cloud Operating System คือ การสร้าง VM image ขึ้นมา โดย Glance คือแคตตาล็อครวม VM ที่อัพโหลดเอาไว้และเปิดให้ใช้ภายในองค์กร
  • Trove (database server) : เป็นตัวสนับสนุนการทำงานของ Database ที่ต่างกัน

นอกจากนี้ Component ของ OpenStack ยังใช้ MySQL Database ที่หลากหลาย สามารถทำงานร่วมกับ Python รวมทั้งใช้ Command line interface ของ Python ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

– คำสั่งดาวน์โหลด Keystone จากเซิร์ฟเวอร์ Linux ที่เก็บข้อมูลแบบ Public :

apt-get install keystone python-keystoneclient

– คำสั่งสร้าง User บน Keystone

keystone user-create –name Sam –description “Sam” :

– คำสั่งลิสต์ชื่อ VM images ด้วย Nova

nova image-list :

– คำสั่งเปิด Python Shell ก็ทำได้ง่ายๆ แค่พิมพ์ Python แล้วตามด้วย :

from keystoneclient.v2_0 import client

ถ้าไม่ถนัด Python CLI (Command Line Interface) จะสลับไปใช้ Dashboard แบบคลิกก็ได้เหมือนกัน

 

OpenStack ในฐานะแพลตฟอร์มแบบ Open source

Nasa และ Rackspace เป็นผู้เริ่มต้นพัฒนา OpenStack ก่อนจะเปิดเป็น Open Source ให้โปรแกรมเมอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ตามต้องการ โดยตรวจสอบ Source code ได้ทาง Github ทั้งนี้พวกโปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาระบบ OpenStack เองก็ทำงานให้กับองค์กรใหญ่ที่นำ OpenStack ไปใช้ด้วยเหมือนกัน เช่น Rackspace และ Paypal เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโปรเจคเกี่ยวกับ OpenStack อีกหลายโครงการ ส่วนมากจะเป็นโปรเจคเฉพาะด้าน เช่น การติดตั้งแบบ bare-metal ผู้ที่สนใจหรืออยากจะทดลองใช้งาน ทาง OpenStack ก็มี Development Version ให้ลองเล่นกันได้โดยนำไปติดตั้งบน Ubuntu Linux หรือจะใช้ OpenStack Autopilot wizard ในการสั่ง Deploy ก็ได้ ส่วน Source code ไม่จำเป็น เพราะ OpenStack สามารถหาได้จาก Python package โดยใช้ Tools ชื่อ apt-get ในการติดตั้ง

Container : รากฐานของระบบ Cloud

สำหรับใครที่เป็นสาย IT หรือ CXO (Cheif Experience Officer) คงเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ Docker และ Containerization กันมาบ้างแหละ แต่ถ้าถามว่า Docker และ Container คืออะไร แล้วจะมามีบทบาทเพิ่มศักยภาพให้ Virtual และ Cloud Infrastructure ของได้อย่างไร

ช่วงราวๆ ปี 1970 IBM ได้คิดค้น VM/370 Operating System ขึ้นมา ทำให้สามารถแยกส่วนการทำงานทางกายภาพและ Software ของ Mainframe Computer ได้ คือ ทำให้พวก Instance ของ OS หรือ VM รันได้ใน Environment ส่วนตัว สำหรับ Application และ User แต่ละรายออกจากกัน นอกจาก VM จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ Mainframe แล้วยังทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นอีกด้วย

และในที่สุด เทคโนโลยี Virtualization ก็แพร่หลายมาสู่ Intel และ PC ซึ่งเดิมถูกใช้งานสำหรับ Compatibility เช่น ระบบ DOS/Windows subsystem implemented in OS/2 2.0 เมื่อปี 1992

ต่อมาในปี 1999 VMware ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก คือ VMware 1.0 สำหรับ Linux เพื่อให้ Windows และ Windows Application สามารถรัน Desktop Version ของ OS ได้ เนื่องจากในช่วงเวลานั้น Windows ยังขาด native apps อยู่หลายตัว ทำให้ VMware กลายมาเป็น Tools ยอดนิยมสำหรับ Software Developer ที่ต้องการ Code จาก Running Environment เผื่อในกรณีที่ Development VM เกิดผิดพลาดขึ้นมา OS จะได้ไม่ล่มไปทั้งระบบ

เมื่อเข้าสู่ยุค 2000 Client-server ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจน Data Center เต็มไปด้วย Server

และด้วยผลิตภัณฑ์จาก VMware ทั้ง ESX hypervisor, Xen, Hyper-V และ KVM ทำให้ x86 System ทั้งหลายกลายมาเป็น Virtual Machine กันเสียเยอะแยะ เม็ดเงินที่ต้องจ่ายเพื่อทำ Server และเป็นเจ้าของ Data Center จึงลดลงจนน่าตกใจ ผลลัพธ์ คือ จาก Physical Server หลายพันเครื่อง ตอนนี้เหลือเครื่อง Host สำหรับบรรจุ Virtual Machine เพียงไม่กี่เครื่องเท่านั้น

ซึ่ง Hypervisor และ Virtual Infrastructure นี้เองที่ผลักดันให้ Data Center และบริการ Publice Cloud แบบ IaaS (Infrastructure as a Service) เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้

ในปัจจุบัน Public Cloud เช่น AWS (Amazon Web Service) และ Microsoft Azure จะเรียกเก็บเงินเป็นรายชั่วโมงที่ VM เปิดใช้งาน โดยคิดในส่วนของการใช้งาน Virtual cpus (vCPUs) ซึ่งเป็น Virtualization ส่วนหนึ่งของ Host CPU core

VM คือ แหล่ง Instance ทั้งหมดของ OS โดยต้องมี Kernel และ Device Driver ซึ่งเข้ากันได้กับ VM เครื่องอื่นๆ ที่ใช้ Hypervisor ร่วมกัน VM มีข้อดีด้านความสามารถในการย้าย System และ App ภายในจาก Physical ไปยัง Virtual ได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของ Environment ที่มีอยู่ แต่ VM ก็กิน Resource เปลืองมาก โดยเฉพาะในส่วนของ Memory และ CPU intensive workloads อย่าง Database

ทั้งนี้ การใช้งาน VM ในระดับ Private และ Public Cloud หมายความว่า Workload จาก VM แบบ on-premise หลายเครื่อง จะถูกย้ายขึ้นไปบน Cloud กันหมด ซึ่งอาจเกิดปัญหา Scalability และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว Container จึงเข้ามามีบทบาท

Container คล้ายกับ VM ในด้านการสร้างพื้นที่เฉพาะสำหรับ Application โดยมีทรัพยากรแยกออกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สำหรับติดตั้ง, Memory และพื้นที่เก็บไฟล์ เพราะเหตุนี้ Container จึงสามารถมี Sysadmin และกลุ่มของ User ส่วนตัวเฉพาะแต่ละ Container ได้ แต่ที่ไม่เหมือนกับ VM ก็คือ Container ไม่ได้รัน Instance หรือ Image ของ OS อย่างสมบูรณ์ ด้วย Kernels, Drivers, และ Libraries ที่แชร์ร่วมกัน และไม่ว่า Container จะมีจำนวนมากแค่ไหน ก็สามารถรันได้บน Single OS เดียวกัน และมีขนาดเล็กนิดเดียว เมื่อเทียบกับ VM

ภายในหนึ่ง Container จะมีเพียง Application และ Setting กับ Storage ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของ Application เท่านั้น ซึ่งบางครั้ง Concept นี้จะถูกเรียกว่า JeOS “Just enough OS”

ด้วยความที่ Container สามารถโอนถ่าย Libraries และ Patches จาก Host เมื่อ Host ของ Container อัพเดท Libraries พวก Container ทั้งหมดที่อยู่ใน Host ก็จะอัพเดท Libraries ไปด้วย จึงเรียกได้ว่า Container หรือ Virtual Environment ที่อยู่บน Host เดียวกันใช้งาน OS เวอร์ชั่นเดียวกันทั้งหมด

ทางด้านการทำงาน Container นั้นต้องการ Host OS หรือ Containerization Platform อย่าง LXC กับ Docker แตกต่างจาก VM ที่รันบน Hypervisor เพราะฉะนั้น Containerization จึงถูกพูดถึงในฐานะ Virtualization ในระดับ OS (Operating System-level Virtualization) โดย Linux containerization host จะรัน Linux containers ส่วน Windows containerization host ก็รัน Windows containers และเพราะ Container หลายตัวสามารถรันได้ด้วย Single Instance ของ OS การจะให้ Container Host กลายมาเป็น Single VM จึงสามารถทำได้เช่นกัน

ตอนนี้เราก็มาถึง Containerization Technology ที่กำลังเป็นที่สนใจกันแล้ว นั่นก็คือ Docker โดย Containerization Engine จริงๆ ของ Docker ใน Linux OS คือ LXC

Docker เป็น Containerization Technology ที่โดดเด่นด้วยการทำให้เราสามารถรวม Application ซับซ้อนทั้งหลายเป็นแพ็คเกจเอาไว้ แล้วอัพโหลดขึ้นที่เก็บไฟล์สาธารณะ จากนั้นก็ดาวน์โหลดมาติดตั้งใน Public หรือ Private Cloud ที่มี OS ซึ่งรัน Docker Engine และ Containerization Platform อยู่ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับที่เราโหลดแอพฯ จาก App Store มาลงสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตนั่นแหละ

การย้าย Docker ไป Host อื่นก็สามารถทำได้ไม่ต่างกับการย้าย VM  แถมยังเร็วกว่าด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการ Clustering ข้อมูล Docker จะใช้ Swarm เป็นตัวจัดการไฟล์

สรุปแล้ว การมาถึงของ Container Technology ทำให้การพึ่งพา VM ลดน้อยลง เพราะ Container ได้นำเสนอทางเลือกประหยัดค่าใช้จ่ายด้าน Cloud Computing โดยเฉพาะในระดับ Hyperscale ได้อย่างน่าดึงดูดใจ ให้เหล่า CXO ต้องกลับไปคิดทบทวนเรื่องปรับโครงสร้างระบบและเปลี่ยนมาใช้งาน Docker กันสักที

ฉลาดเลือกในการใช้ Virtual Private Cloud ต่อยอดธุรกิจ

การที่ธุรกิจจะเติบโตไปได้ ก็ต้องมีหลายปัจจัยเข้ามาช่วย นอกจากการทำการตลาดเพียงอย่างเดียวแล้ว การร่นระยะกระบวนการในการทำงานให้น้อยลง ก็ถือว่าเราได้ก้าวไปอีกขั้น

อย่างที่รู้ดีกันแล้วว่า Virtual Private Cloud ก็คือบริการที่องค์กรนำเอาเทคโนโลยีคลาวด์มาปรับใช้สร้างคลาวด์ส่วนตัวขึ้นมาได้แต่ใช้ได้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น

แต่ถ้าพูดกันจริงๆตัว Virtual Private Cloud ก็รันอยู่ในระบบคลาวด์สาธรณะอยู่ดี ซึ่งข้อจำกัดของ Virtual Private Cloud ก็พบว่ามีอยู่พอสมควร เพราะว่าระบบนี้เป็นแบบ Multi-tenants โดย Resource ทุกอย่างอยู่บน Infra เดียวกันทั้งหมด จึงพบข้อเสียอยู่บ้าง เช่น การจัดการหมายเลขไอพีความยุ่งยากในการดำเนินงาน

ในขณะที่ Amazon Web Services, Google และ Microsoft ใช้บริการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ Virtual Private Cloud ยังช้าเหมือนจังหวะของหอยทาก ถึงแม้ว่าคลาวด์ตัวนี้จะมีข้อได้เปรียบมากมายในการใช้โอเพนซอร์สแต่ความจริงแล้วก็ไม่สามารถทำงานได้เร็วได้เท่าที่ควร

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าองค์กรยักษ์ใหญ่หลายๆค่ายเริ่มมองหา คลาวด์เพื่อเป็นตัวควบคุมฮาร์ดแวร์และนักไอทีของหลายๆบริษัทได้กล่าวถึง Virtual Private Cloud ในประเด็นความปลอดภัยระบบคลาวด์มักดีกวาระแบบอื่นๆ

และนั่นเป็นเหตุผลที่ระบบ Virtual Private Cloud ยังคงพัฒนาต่อไปแต่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และหากองค์กรไหนที่กำลังจะเปรียบเทียบว่าจะใช้  Private Cloud หรือ Public Cloud ดีคงจะต้องพิจารณาในหลายๆด้านเพื่อให้ชนิดของคลาวด์ตอบสนองโจทย์ของธุรกิจได้มากที่สุด

ฉะนันจึงสรุปได้ว่าจริงๆแล้ว Virtual Private Cloud นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่การใช้งานต่างหากที่สำคัญ หากคุณเลือกใช้ Virtual Private Cloud ในการขับเคลื่อนธุรกิจ คุณก็จะได้รับความปลอดภัยที่สูง ใช้งบลงทุนไม่มากอีกด้วย

 

Private Cloud คือการลงทุนที่คุ้มค่าต่อธุรกิจในปัจจุบัน

เพราะในปัจจุบันนั้นโครงสร้างธุรกิจมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุกๆกิจการต้องการความรวดเร็วและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อจะเป็นที่ 1 ในด้านธุรกิจ ซึ่งปัจจัยหลักของการเอาชนะคู่แข่งได้ Private Cloud ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามหรือนักธุรกิจควรศึกษาไว้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักก่อนกับ  Private Cloud คือระบบ Cloud จัดขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงได้ โดยจะลูกเล่นเหมือนกับ Public Cloud แต่จะต่างกันตรงที่ Private Cloud หนึ่งอันจะถูกใช้โดยหนึ่งองค์กรเท่านั้น โดยมีการบริหารจัดการ Resource ให้กับหน่วยงานภายในกันเอง ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเข้าไปใช้ Resource เหล่านั้นได้โดยตรง

ข้อดีของ Private Cloud ที่มีต่อธุรกิจ

– มีความปลอดภัยสูงเพราะข้อความทุกอย่างจะเป็นความลับถายในอังค์กรเท่านั้น

– สามารถควบคุมได้ง่าย

– คุมค่าใช่จ่ายให้อยู่ในขอบเขต

– ยกระดับด้านศักยภาพของบุคลากรและระบบ IT ภายในองค์ให้มีประสิทธิภาพ

– มีความรวดเร็วในการใช้งาน ทั้งด้านโปรแกรม และอินเตอเน็ต

– ไม่เปลือง Internet Bandwidth หากการใช้งานส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากบุคคลภายในองค์กรเอง

– ประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับองค์กรที่มีข้อมูลสำคัญอยู่มาก

– สามารถดึงทรัพยากรออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ Private Cloud ให้เราสามารถปรับแต่งการทำงานได้อย่างอิสระ

 

ข้อเสียของ Private Cloud ที่มีต่อธุรกิจ

– ต้องดูแล Private Cloud อยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

– ผู้ดูแลระบบ Private Cloud ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความรับผิดชอบสูง

– มีค่าใช้จ่ายในการลุงทุนด้านHardware และ Software สูง